การจัดการฐานข้อมูล

       การจัดการฐานข้อมูล(Database Management) คือ การบริหารแหล่งข้อมูลที่ถูกเก็บรวบรวมไว้ที่ศูนย์กลาง เพื่อตอบสนองต่อการใช้ของโปรแกรมประยุกต์อย่างมีประสิทธิภาพและลดการซ้ําซ้อนของข้อมูลรวมทั้งความขัดแย้งของข้อมูลที่เกิดขึ้นภายในองค์การ ในอดีตการเก็บข้อมูลมักจะเป็นอิสระต่อกันไม่มีการ
เชื่อมโยงของข้อมูลเกิดการ สิ้นเปลืองพื้นที่ในการเก็บข้อมูล เช่น องค์การหนึ่งจะมีแฟ้มบุคคล (
Personnel) แฟ้มเงินเดือน (Payroll) และแฟ้ม สวัสดิการ (Benefits) อยู่แยกจากกัน เวลาผู้บริหารต้องการข้อมูลของพนักงานท่านใดจําเป็นจะต้องเรียกดูแฟ้มข้อมูลทั้ง 3 แฟ้ม ซึ่งเป็นการไม่สะดวก จงทําให้เกิดแนวความคิดใน
การรวมแฟ้มข้อมูลทั้ง
3เข้าด้วยกันแล้วเก็บไว้ที่ ศูนย์กลางในลักษณะฐานข้อมูล (Database) จึงทําให้เกิดระบบการจัดการฐานข้อมูล (Database Management system (DBMS) ซึ่งจะต้องอาศัยโปรแกรมเฉพาะในการสร้างและบํารุงรักษา (Create and Maintenance) ฐาน ข้อมูลและสามารถที่จะให้ผู้ใช้ประยุกต์ใช้กับ
ธุรกิจส่วนตัวได้โดยการดึงข้อมูล (
Retrieve) ขึ้นมาแล้วใช้โปรแกรมสําเร็จรูปอื่นสร้างงานขึ้นมาโดยใช้ข้อมูลที่มีอยู่ในฐานข้อมูล แสดงการรวมแฟ้มข้อมูล 3 แฟ้มเข้าด้วยกัน โครงสร้างข้อมูล (Data Structure)
     - บิท (
Bit) หมายถึง หน่วยของข้อมูลที่มีขนาดเล็กที่สุด
     - ไบท์ (
Byte) หมายถึง หน่วยของข้อมูลที่กิดจากการนําบิทมารวมกันเป็นตัวอักขระ (Character)
     - เขตข้อมูล (
Field) หมายถึง หน่วยของข้อมูลที่ประกอบขึ้นจากตัวอักขระตั้งแต่หนึ่งตัวขึ้นไปมารวมกัน
แล้วไดความหมายของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น ชื่อ ที่อยู่ เป็นต้น

     - ระเบียน (
Record) หมายถึง หน่วยของข้อมูลที่เกิดจากการนําเอาเขตข้อมูลหลาย ๆ เขตข้อมูลมา
รวมกัน เพื่อเกิดเป็นข้อมูลเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เช่น ข้อมูลของนักศึกษา
1 ระเบียน (1 คน) จะประกอบด้วย
รหัสประจําตัวนักศึกษา
1 เขตข้อมูล
ชื่อนักศึกษา
1 เขตข้อมูล
ที่อยู่
1 เขตข้อมูล
-
แฟ้มข้อมูล (File) หมายถึงหน่วยของข้อมูลที่เกิดจากการนําข้อมูลหลาย ๆ ระเบียนที่เป็นเรื่อง
เดียวกันมารวมกัน เช่น แฟ้มข้อมูลนักศึกษา แฟ้มข้อมูลลูกค้า แฟ้มข้อมูลพนักงาน

- ระบบฐานข้อมูล (
Database System) หมายถึง โครงสร้างสารสนเทศที่ประกอบด้วยรายละเอียดของ
ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกันที่จะนํามาใช้ในระบบต่าง ๆ ร่วมกัน

องค์ประกอบของระบบฐานข้อมูล

-
ฮาร์ดแวร์ (Hardware)
-
ซอฟท์แวร์ (Software)
-
ข้อมูล (Data)
-
ผู้บริหารฐานข้อมูล (Database Administrator)
-
โปรแกรมเมอร์ (Programmer)
-
ผู้ใช้ (End User)

ข้อดีของระบบฐานข้อมูล
-
ลดความยุ่งยาก คือ ดําเนินการยาก
-
ลดความซับซ้อน คือ มีหลายขั้นตอน
ข้อเสียของระบบฐานข้อมูล

-
มีค่าใช้จ่ายสําหรับฮาร์ดแวร์
-
มีค่าใช้จ่ายสําหรับซอฟท์แวร์
-
มีค่าใช้จ่ายสําหรับผู้เชี่ยวชาญ
การจัดการข้อมูล

การจัดการข้อมูล (
Data management) ข้อมูล คือข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นของกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่ง
โดยการสังเกต การจดบันทึก การสัมภาษณ์และการออกแบบสอบถาม ข้อมูลที่ได้มานั้นยังคงเป็นข้อมูลดิบ ไม่
สามารถที่จะนํามาใช้ในการตัดสินใจในการกระทําในเชิงการจัดการและข้อมูลที่รวบรวมมามักจะไม่มีการจัด
ระเบียบอาจจะมีการซ้ําซ้อนของข้อมูลหรือข้อมูลชนิดเดียวกันอาจจะขัดแย้งกันก็ได้ ดังนั้นองค์การจะต้องมี
การวางแผนในการจัดการบริหารฐาน ข้อมูลที่ดีจึงจะได้ประโยชน์จากข้อมูลที่จัดเรียบเรียงไว้

การจัดการแฟ้มข้อมูล

การจัดการแฟ้มข้อมูล (
File Management) ในอดีตข้อมูลที่จัดเก็บไว้จะอยู่ในรูปของแฟ้มข้อมูลอิสระ
(
Conventional File) ซึ่งระบบงานแต่ละระบบก็จะสร้างแฟ้มของตนเองขึ้นมาโดยไม่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน เช่น
ระบบบัญชี ที่สร้างแฟ้มข้อมูลของตนเอง ระบบพัสดุคงคลัง (
Inventory) ระบบการจ่ายเงินเดือน(Payroll)
ระบบออกบิล (
Billing) และระบบอื่นๆต่างก็มีแฟ้มข้อมูลเป็นของตนเอง หากมีการปรับปรุงแก้ไขก็จะทํา
เฉพาะส่วนจึงทําข้อมูลขององค์การ บางครั้งเกิดสับสนเนื่องจากข้อมูลขัดแย้งกันและในบางองค์การอาจจะมี
การเขียนโปรแกรมโดยใช้ภาษาที่เขียนที่ต่างกัน เช่นภาษาโคบอล (
COBOL language) ภาษาอาร์พีจี(RPG)
ภาษาปาสคาล (
PASCAL) หรือภาษาซี (C language) ซึ่งมีลักษณะของแฟ้มข้อมูลที่สร้างด้วยภาษาที่ต่างกันก็
ไม่สามารถจะใช้งานร่วมกันได้ จึงทําให้องค์การเกิดการสูญเสียในข้อมูล ดังนั้นก่อนที่องค์การจะนํา
คอมพิวเตอร์มาใช้จะต้องมีการวางแผนถึงระบบการบริหารแฟ้มข้อมูล

ประเภทของแฟ้มข้อมูล (
File Type)
เราสามารถจําแนกแฟ้มข้อมูลออกตามลักษณะของข้อมูลที่เก็บบันทึกไว้และสามารถแบ่งแฟ้มข้อมูล
ออกเป็น
2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
1.
แฟ้มข้อมูลหลัก (Master File) เป็นแฟ้มข้อมูลซึ่งเก็บข้อมูลที่สําคัญ เช่น แฟ้มข้อมูลประวัติ ลูกค้า
(
Customer master file) ตามที่กล่าวไว้ข้างต้น แฟ้มข้อมูลประวัติผู้จัดส่งสินค้า (Supplier master file)
แฟ้มข้อมูลสินค้าคงเหลือ (
Inventory master file) แฟ้มข้อมูลบัญชี (Account master file) เป็นต้น ซึ่ง
แฟ้มข้อมูลหลักเหล่านี้เป็นส่วนประกอบของระบบงานบัญชี (
Account system)
2.
แฟ้มรายการปรับปรุง (Transaction file) เป็นแฟ้มที่บันทึกข้อมูลเกี่ยวกับแฟ้มข้อมูลหลักที่มีการ
เปลี่ยนแปลงในแต่ละวัน รายการที่เกิดขึ้นต้องนําไปปรับปรุงกับแฟ้มข้อมูลหลักเพื่อให้แฟ้มข้อมูลหลักมีข้อมูลที่
ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา

 

การออกแบบฐานข้อมูล
การออกแบบฐานข้อมูล (
Designing Databases) มีความสําคัญต่อการจัดการระบบฐานข้อมูล (DBMS)
ทั้งนี้เนื่องจากข้อมูลที่อยู่ภายในฐานข้อมูลจะต้องศึกษาถึงความสัมพันธ์ของข้อมูล โครงสร้างของข้อมูลการ
เข้าถึงข้อมูลและกระบวนการที่โปรแกรมประยุกต์จะเรียกใช้ฐานข้อมูล ดังนั้น เราจึงสามารถแบ่งวิธีการสร้าง
ฐานข้อมูลได้
3 ประเภท
1.
ฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ (Relational Database)
เป็นการเก็บข้อมูลในรูปแบบที่เป็นตาราง (
Table) หรือเรียกว่า รีเลชั่น (Relation) มีลักษณะเป็น 2 มิติ คือ
เป็นแถว (
row) และเป็นคอลัมน์ (column) การเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างตาราง จะเชื่อมโยงโดยใช้แอททริบิวต์
(
attribute) หรือคอลัมน์ที่เหมือนกันทั้งสองตารางเป็นตัวเชื่อมโยงข้อมูล ฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์นี้จะเป็น
รูปแบบของฐานข้อมูลที่นิยมใช้ในปัจจุบัน ดังตัวอย่าง

2. ฐานข้อมูลแบบเครือข่าย (
Network Database)
ฐานข้อมูลแบบเครือข่ายจะเป็นการรวมระเบียนต่าง ๆ และความสัมพันธ์ระหว่างระเบียนแต่จะต่างกับ
ฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ คือ ในฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์จะแฝงความสัมพันธ์เอาไว้ โดยระเบียนที่มีความสัมพันธ์กัน
จะต้องมีค่าของข้อมูลในแอททริบิวต์ใดแอททริบิวต์หนึ่งเหมือนกัน แต่ฐานข้อมูลแบบเครือข่าย จะแสดง
ความสัมพันธ์อย่างชัดเจน ตัวอย่างเช่น

3.
ฐานข้อมูลแบบลําดับชั้น (Hierarchical Database)
ฐานข้อมูลแบบลําดับชั้น เป็นโครงสร้างที่จัดเก็บข้อมูลในลักษณะความสัมพันธ์แบบพ่อ-ลูก (
Parent-
Child Relationship Type : PCR Type)
รือเป็นโครงสร้างรูปแบบต้นไม้ (Tree) ข้อมูลที่จัดเก็บในที่นี้ คือ
ระเบียน (
Record) ซึ่งประกอบด้วยค่าของเขตข้อมูล (Field) ของเอนทิตี้หนึ่ง ๆ
ประเภทของระบบฐานข้อมูล

การแบ่งประเภทของระบบฐานข้อมูลมีการแบ่งออกหลายประเภท ขึ้นอยู่กับชนิดและประเภทที่นํามาจําแนก
ในบทเรียนนี้จะแบ่งประเภทของระบบฐานข้อมูลออกเป็น
4 ประเภทใหญ่ ตามชนิดต่าง ๆ ดังนี้
1.
แบ่งตามจํานวนของผู้ใช้
การแบ่งโดยใช้จํานวนผู้ใช้เป็นหลัก สามารถแบ่งออกเป็น
2 ประเภทได้แก่
1.1
ผู้ใช้คนเดียวเป็นระบบฐานข้อมูลที่ใช้ภายในองค์กรขนาดเล็ก เช่น ระบบ Point of sale ของ
ร้านสะดวกซื้อ หรือระบบบัญชีของร้านเล็ก ๆ ทั่วไป เป็นต้น มีเครื่องคอมพิวเตอร์เพียงเครื่องเดียวและผู้ใช้
เพียงคนเดียว ไม่มีการแบ่งฐานข้อมูลร่วมกันใช้กับผู้อื่น ถ้าผู้ใช้คนอื่นต้องการใช้ระบบนี้จะต้องรอให้ผู้ใช้คน
แรกเลิกใช้ก่อนจึงจะใช้ได้

1.2
ผู้ใช้หลายคน แบ่งออกเป็น 2 ประเภทย่อย ๆ ได้แก่ ผู้ใช้เป็นกลุ่ม หรือ Workgroup
database
และประเภทฐานข้อมูลขององค์กรขนาดใหญ่หรือ Enterprise database
ผู้ใช้เป็นกลุ่ม เป็นฐานข้อมูลที่มีผู้ใช้หลายกลุ่มหรือหลายแผนก และแต่ละกลุ่มอาจมีผู้ใช้หลายคน มีการ
แลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันหรืออาจจะใช้ฐานข้อมูลเดียวกันก็ได้ แต่จะอยู่ในองค์กรเดียวกันเท่านั้น

องค์การขนาดใหญ่ เป็นระบบฐานข้อมูลที่ใช้กับองค์กรขนาดใหญ่ที่มีสาขาหลายสาขา ทั้งในประเทศหรือมี
สาขาในต่างประเทศ จะใช้ฐานข้อมูลขนาดใหญ่ มีระบบสํารอง การรักษาความปลอดภัยเป็นอย่างดี

2.
แบ่งโดยใช้ขอบเขตของงาน
การแบ่งโดยใช้ขอบเขตของงาน แบ่งออกเป็น
3 ประเภทใหญ่ ๆ ได้แก่ ประเภทผู้ใช้คนเดียว ประเภทผู้ใช้เป็น
กลุ่มและประเภทองค์การขนาดใหญ่ ดังได้กล่าวรายละเอียดในตอนต้นแล้ว

3. แบ่งตามสถานที่ตั้ง
การแบ่งตามสถานที่ตั้ง แบ่งออกเป็น
2 ประเภทใหญ่ ๆ ได้แก่ ประเภท ศูนย์กลาง และประเภทกระจายทั้ง
สองประเภทมีรายละเอียดดังนี้

3.1
ประเภทศูนย์กลาง เป็นระบบฐานข้อมูลที่นําเอามาเก็บไว้ในตําแหน่งศูนย์กลาง ผู้ใช้ทุกแผนก
ทุกคนจะต้องมาใช้ข้อมูลร่วมกัน ตามสิทธิ์ของผู้ใช้แต่ละกลุ่มหรือแต่ละคน

3.2
ประเภทกระจาย เป็นระบบฐานข้อมูลที่เก็บฐานข้อมูลไว้ ณ ตําแหน่งใด ๆ ของแผนก และแต่
ละแผนกใช้ฐานข้อมูลร่วมกันโดยผู้มีสิทธิ์ใช้ตามสิทธิ์ที่ได้กําหนดจากผู้มีอํานาจ การเข้าถึงข้อมูล เช่น
ฐานข้อมูลของฝ่ายบุคคลเก็บไว้ที่แผนกทรัพยากรบุคคล ยอมให้ฝ่ายบัญชีนํารายชื่อของพนักงานไปใช้ร่วมกับ
ฐานข้อมูลการจ่ายโบนัส และในขณะเดียวกันฝ่ายบัญชีมีฐานข้อมูลเก็บเงินเดือน สวัสดิการและรายจ่ายต่าง ๆ
ของพนักงานเพื่อให้แผนกอื่นๆ เข้ามาใช้ได้เช่นกัน

4.
แบ่งตามการใช้งาน
การแบ่งตามการใช้งานแบ่งออกเป็น
3 ประเภทใหญ่ ๆ ได้แก่ ฐานข้อมูลสําหรับงานประจําวัน ฐานข้อมูลเพื่อ
ใช้ในการตัดสินใจ และเพื่อเป็นคลังข้อมูล

4.1
ฐานข้อมูลสําหรับงานประจําวัน เป็นระบบฐานข้อมูลที่ใช้ในงานประจําวันของพนักงานระดับ
ปฏิบัติการป้อนข้อมูลเข้าสู่ระบบ เช่น งานสินค้าคงคลัง งานระบบซื้อมาขายไป สําหรับร้านสะดวกซื้อ หรือ
ระบบงานขายของร้านค้าทั่วไป เป็นต้น ฐานข้อมูลประเภทนี้มีการนําข้อมูลเข้า เปลี่ยนแปลงและลบออกตลอด
ทั้งวัน จึงทําให้ข้อมูลเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา

4.2
ฐานข้อมูลเพื่อการตัดสินใจ ระบบฐานข้อมูลประเภทนี้มีไว้เพื่อใช้ในการสนับสนุนการตัดสินใจ
ของผู้ใช้ระดับผู้บริหารระดับกลางขึ้นไป ข้อมูลที่นําเข้ามาในระบบได้จากการป้อนข้อมูลงานประจําวันของ
ฐานข้อมูลสําหรับงานประจําวัน ส่วนใหญ่ฐานข้อมูลประเภทนี้นําไปใช้ในงานวางแผนกลยุทธ์ในองค์กร

4.3
ฐานข้อมูลเพื่อเป็นคลังข้อมูล ฐานข้อมูลประเภทนี้เกิดจากการนําข้อมูลเข้ามาในระบบทุก ๆ
วันจึงทําให้เกิดมีข้อมูลขนาดใหญ่ จึงนําเอาข้อมูลที่มีประโยชน์มาสร้างฟังก์ชันหรือสมการต่างเพื่อประมวลผล
หาผลลัพธ์ต่าง ๆ ให้เป็นประโยชน์กับองค์กร

หน้าที่ของระบบการจัดการฐานข้อมูล

ซอฟต์แวร์ระบบฐานการจัดการฐานข้อมูลที่ดีจะต้องทําหน้าที่แก้ปัญหาความไม่สมบูรณ์ ไม่คงเส้นคงวาของ
ข้อมูลและทําให้ข้อมูลมีความถูกต้องไม่ขัดแย้งกันได้ จึงต้องมีหน้าที่ให้ครอบคลุมหลาย ๆ ด้าน ดังนี้

1.
หน้าที่จัดการพจนานุกรมข้อมูล
ในการออกแบบฐานข้อมูลโดยปกติ ผู้ออกแบบได้เขียนพจนานุกรมข้อมูลในรูปของเอกสารให้กับ
โปรแกรมเมอร์ โปรแกรมเมอร์จะใช้ซอฟต์แวร์ระบบการจัดการฐานข้อมูลสร้างพจนานุกรมข้อมูลต่อไป และ
สามารถกําหนดความสัมพันธ์ระหว่างตาราง
เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างข้อมูล จําเป็นต้องเปลี่ยนที่
พจนานุกรมข้อมูลด้วย โปรแกรมเมอร์สามารถเปลี่ยนแปลงโครงสร้างข้อมูลได้ทันที ต่อจากนั้นจึงให้
พจนานุกรมข้อมูลพิมพ์รายงาน พจนานุกรมข้อมูลที่เปลี่ยนแปลงไปแล้วเป็นเอกสารได้เลยทันที่ โดยไม่ต้อง
แก้ไขที่เอกสาร

2.
หน้าที่จัดการแหล่งจัดเก็บข้อมูล
ระบบการจัดการฐานข้อมูลที่ทันสมัยจะไม่ทําหน้าที่เพียงจัดการแหล่งจัดเก็บข้อมูลเท่านั้น แต่ยังเพิ่มหน้าที่ที่
เกี่ยวกับการสร้างฟอร์มป้อนข้อมูลเข้าหรือกําหนดแบบจอภาพ แบบรายงาน หรือแม้แต่การตรวจสอบข้อมูล
นําเข้าว่าถูกต้องหรือไม่ และจัดการเรื่องอื่น ๆ อีกหลายอย่าง

3.การเปลี่ยนรูปแบบและการแสดงผลข้อมูล
การเปลี่ยนรูปแบบและการแสดงผลข้อมูล เป็นหน้าที่สําหรับเปลี่ยนข้อมูลที่ถูกป้อนเข้าไปเป็นโครงสร้างข้อมูล
จะจัดเก็บ ซึ่งอยู่ในมุมมองทางกายภาพ หรืออาจจะกล่าวได้ว่า ระบบจัดการฐานข้อมูลทําข้อมูลให้เป็นอิสระ
จากโปรแกรมประยุกต์ได้

4.
จัดการด้านความปลอดภัยของข้อมูล
ระบบจัดการฐานข้อมูลทําหน้าที่รักษาความมั่นคง ความปลอดภัยของข้อมูล การไม่ยินยอมเข้าถึงข้อมูลจาก
ผู้ใช้ที่ไม่มีสิทธิ์เข้าไปใช้ฐานข้อมูล โดยเฉพาะอย่างยิ่งฐานข้อมูลประเภทผู้ใช้หลายคน นอกจากนี้ยังสามารถ
กําหนดสิทธิ์ให้ผู้ใช้แต่ละคนใช้คําสั่ง เพิ่ม หรือลบ ปรับปรุงข้อมูลได้เป็นรายคนหรือรายกลุ่ม

5.
ควบคุมการเข้าถึงข้อมูลของผู้ใช้
การควบคุมการเข้าถึงข้อมูล เป็นการทําหน้าที่ให้ผู้ใช้เข้าใช้ได้หลาย ๆ คนในเวลาเดียวกันโดยไม่ทําให้เกิด
ขัดข้องของข้อมูล ซึ่งจะเน้นกฎความสมบูรณ์ของข้อมูลและการใช้ข้อมูลพร้อมกัน

6.
สํารองข้อมูลและการกู้คืนข้อมูล
การสํารองข้อมูลและการกู้คืนข้อมูล เป็นหน้าที่ที่จําเป็นอย่างยิ่งเพื่อให้ผู้ใช้ระบบฐานข้อมูลมั่นใจว่าข้อมูลที่
จัดเก็บอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ไม่ได้เสียหาย ยังมีความสมบูรณ์อยู่ตลอดเวลา ผู้ใช้ที่เป็นผู้บริหารฐานข้อมูล
สามารถใช้คําสั่งสํารองข้อมูลและคําสั่งกู้คืนข้อมูลได้

7.
จัดการด้านบูรณภาพของข้อมูล
เป็นข้อกําหนดให้มีกฎความสมบูรณ์เป็นบูรณภาพ โดยจะให้มีข้อมูลที่ซ้ําซ้อนกันให้น้อยที่สุด แต่ให้มีความ
ถูกต้องตรงกันให้มากที่สุด เพราะในระบบฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์จะมีหลาย ๆ ตารางที่สัมพันธ์กันตารางที่
เกี่ยวข้องกันจะขัดแย้งกันไม่ได้

8.
เป็นภาษาสําหรับจัดการข้อมูลและจัดสร้างส่วนประสานกับผู้ใช้
ระบบจัดการฐานข้อมูลจัดให้มีภาษาสําหรับสอบถาม
เป็นภาษาที่เขียนเข้าใจง่ายไม่เหมือนภาษาชั้นสูง
ประเภท
Procedural ทั่วไป ทําให้ผู้เขียนโปรแกรมภาษาระดับสูงเขียนคําสั่งเข้าไปสอบถามข้อมูลหรือ
ประมวลผลสารสนเทศได้ตามต้องการ

9.
เป็นส่วนประสานกับผู้ใช้ในด้านการสื่อสารฐานข้อมูล
ระบบการจัดการฐานข้อมูลสมัยใหม่จะสนับสนุนการทํางานแบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เพื่อให้ผู้ใช้สามารถ
เขียนคําสั่งด้วยโปรแกรมที่ทํางานบน
www เช่น browser ของ Internet Explorer หรือ Netscape เป็นต้น
ความสัมพันธ์

ความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูล ซึ่งมี
3 ชนิด ดังนี้
1.
แบบหนึ่งต่อหนึ่ง ความสัมพันธ์แบบหนึ่งต่อหนึ่ง เป็นความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งหนึ่งกับสิ่งหนึ่งที่มีเพียง
หนึ่งเดียวเท่านั้น เช่น อธิการบดีมีหน้าที่บริหารมหาวิทยาลัยเพียงมหาวิทยาลัยเดียวและในมหาวิทยาลัยนั้น ๆ
จะมีอธิการบดีบริหารงานในขณะนั้น ๆ เพียงคนเดียวเช่นกัน

2.
แบบหนึ่งต่อกลุ่ม ความสัมพันธ์แบบหนึ่งต่อกลุ่ม เป็นความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งหนึ่งกับสิ่งหนึ่งที่มี
เพียงหนึ่งกับอีกด้านหนึ่งเป็นกลุ่ม เช่น สมาชิกผู้บริจาคโลหิตสามารถบริจาคโลหิตได้หลาย ๆ ครั้งและการ
บริจาคนั้นบริจาคโดยสมาชิกคนเดียว

3.
แบบกลุ่มต่อกลุ่ม ความสัมพันธ์แบบกลุ่มต่อกลุ่ม เป็นความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งหนึ่งกับสิ่งหนึ่งที่มีได้
หลาย ๆ อย่าง เช่น นักศึกษาสามารถลงทะเบียนเรียนได้หลาย ๆ รายวิชาและในแต่ละรายวิชามีนักศึกษา
ลงทะเบียนเรียนได้หลาย ๆ คน

 

ระบบการจัดการฐานข้อมูล จะมีส่วนประกอบที่สําคัญ 3 ส่วนได้แก่
1.
ภาษาคํานิยามของข้อมูล [Data Definition Language (DDL)] ในส่วนนี้จะกล่าวถึงส่วนประกอบ
ของระบบการจัดการฐาน
ข้อมูลว่าข้อมูลแต่ละส่วนประกอบด้วยอะไรบ้าง (Data element) ในฐานข้อมูลซึ่ง
เป็นภาษาทางการที่นักเขียนโปรแกรมใช้ในการ สร้างเนื้อหาข้อมูลและโครงสร้างข้อมูลก่อนที่ข้อมูลดังกล่าวจะ
ถูกแปลงเป็นแบบฟอร์มที่สต้องการของโปรแกรมประยุกต์หรือในส่วนของ
DDL จะประกอบด้วยคําสั่งที่ใช้ใน
การกําหนดโครงสร้างข้อมูลว่ามีคอลัมน์อะไร แต่ละคอลัมน์เก็บข้อมูลประเภทใด รวมถึงการเพิ่มคอลัมน์ การ
กําหนดดัชนี เป็นต้น

2.
ภาษาการจัดการฐานข้อมูล (Data Manipulation Language (DML) เป็นภาษาเฉพาะที่ใช้ในการ
จัดการระบบฐานข้อมูลซึ่งอาจจะเป็นการเชื่อมโปรแกรมภาษาในยุคที่สามและยุคที่สี่เข้าด้วยกันเพื่อจัดการ
ข้อมูลในฐานข้อมูลภาษานี้มักจะประกอบด้วยคํา สิ่งที่อนุญาตให้ผู้ใช้สามารถสร้างโปรแกรมพิเศษขึ้นมา รวมถึง
ข้อมูลต่างๆ ในปัจจุบันที่นิยมใช้ ได้แก่ ภาษา
SQL(Structure Query Language) แต่ถ้าหากเป็นเครื่อง
คอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่
DBMS มักจะสร้างด้วยภาษาโคบอล (COBOL language) ภาษาฟอร์แทน (FORTRAN)
และภาษาอื่นในยุคที่สาม

3.
พจนานุกรมข้อมูล (Data Dictionary) เป็นเครื่องมือสําหรับการเก็บและการจัดข้อมูลสําหรับการ
บํารุงรักษาในฐานข้อมูล โดยพจนานุกรมจะมีการกําหนดชื่อของสิ่งต่างๆ (
Entity) และระบุไว้ในโปรแกรม
ฐานข้อมูล เช่น ชื่อของฟิลด์ ชื่อของโปรแกรมที่ใช้รายละเอียดของข้อมูล ผู้มีสิทธิ์ใช้และผู้ที่รับผิดชอบ แสดง
ส่วนประกอบของระบบการจัดการฐานข้อมูล

อุปสรรคในการพัฒนาระบบข้อมูล

1
ความผิดพลาดจากการป้อนข้อมูลเข้าย่อมมีผลกระทบกับหน่วยงานอื่นทีนําข้อมูลนั้นไปใช้เนื่องจาก
ไม่มี ข้อมูลอื่นที่มาเทียบกับข้อมูลในฐานข้อมูลชุดนั้น

2.
สร้างแฟ้มข้อมูลร่วมเพื่อตอบสนองกับองค์การ ทุกแผนกกระทําได้ยากเนื่องจากแต่ละแผนกอาจจะ
ต้องการได้ข้อมูลในความละเอียดที่ไม่เท่ากัน ผู้จัดการระดับล่างต้องการใช้ข้อมูลเพื่อการทํางานวันต่อวัน แต่
ผู้บริหารระดับสูงต้องการใช้ข้อมูลเพื่อการวางแผน ดังนั้นการออกแบบฐานข้อมูลจึงทําได้ยากมาก

3.
ในเรื่องของความปลอดภัยทั้งนี้เนื่องจากทุกแผนกมีการใช้ข้อมูลร่วมกันจึงต้องมีการสร้างระบบ
ป้องกันความปลอดภัยของข้อมูลเพื่อไม่ให้ข้อมูลรั่วไหล จะต้องมีการกําหนดรหัสผ่าน (
Password) และการ
จัดลําดับความสําคัญของงาน (
Priority) รวมถึงการกําหนดสิทธิ์ในการใช้งานของผู้ใช้แต่ละคน ซึ่งเป็นการ
ยุ่งยากสําหรับการใช้ฐาน ข้อมูลร่วมกัน ไม่เหมือนกับระบบเดิม ทุกแผนกมีสิทธิ์ใช้ เครื่องของตนเองได้เต็มที่ มี
อิสระในการตัดสินใจ

ส่วนข้อดีในการจัดการฐานข้อมูล

1
ลดความยุ่งยากของข้อมูลภายในองค์การโดยรวมข้อมูลไว้ที่จุดหนึ่งและผู้ควบคุมดูแลการใช้ข้อมูล
การเข้าถึงข้อมูล การนําข้อมูลไปใช้ประโยชน์และดูแลความปลอดภัย

2.
ลดการซ้ําซ้อนของข้อมูล (Redundancy) ในกรณีที่ข้อมูลอยู่เป็นเอกเทศ
3.
ลดความสับสน (Confusion) ของข้อมูลภายในองค์การ
4.
ค่าใช้จ่ายในการพัฒนาโปรแกรมและการบํารุงรักษาภายหลังจากระบบสมบูรณ์แล้วจะลดลงเมื่อ
เทียบกับแบบเก่า

5.
มีความยืดหยุ่นในการขยายฐานข้อมูล การปรับปรุงแก้ไขทําได้ง่ายกว่า
6.
การเข้าถึงข้อมูลและความสะดวกในการใช้สารสนเทศมีเพิ่มขึ้น